วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร
                     การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาด้านการบริหาร เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในงานระดับวางแผนนโยบายและกลยุทธ์ขององค์การโดยที่ EIS จะถูกนำมาให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารในการตัดสินใจเมื่อประสบปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง โดย EIS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่พิเศษของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ ตัวอย่างรายงานที่ออกโดยระบบ MIS เช่น การวิเคราะห์การขายแยกตามพื้นที่ การวิเคราะห์ต้นทุน งบประมาณประจำปี การวิเคราะห์การลงทุน และตารางการผลิต
 การบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา
1.             การบริหารงานด้านวิชาการ
2.             การบริหารงานด้านกิจการนักเรียน
3.             การบริหารงานธุรการ
4.             การบริหารงานบริการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา (MIS)
                        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในมาตรา 63-69 ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่า  ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐ เกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา 
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
             1.พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ
             2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
             3.สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ
             4.เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา(Content) ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม
             5.ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน 
                              เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning) นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICT เพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล จัดให้มีการศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware center) ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e - Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT พัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา 
                                พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนา
บุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชน สร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation center) เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT 
                             ผลิตและพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้าน ICT โดยจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตร ICT ในทุกระดับการศึกษา พัฒนาผู้สอนและนักวิจัย ส่งเสริมการวิจัย และนำผล การวิจัยไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT เพื่อการพัฒนาการศึกษาและอุตสาหกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา 
                             จัดให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT อย่างทั่วถึง มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เพียงพอ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ICT ที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงาน



กลยุทธ์ในการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ  มีแนวทางดังนี้
(การบริหารคน  การบริหารจัดการงาน  การบริหารเวลา)
1)  การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Utilization)  เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น 
2)  การบริหารทางไกล (High-Tech Administration) 
3)  การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) 
4)  การมองการณ์ไกล (Introspection)
5)   การใช้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization)
6)   การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development)
7)   การพัฒนาบุคลากร (Personnel Development
ระบบสารสนเทศทางการศึกษา     ระบบ (System) คือ ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ประการ คือ
1.             ข้อมูลนำเข้า  (Input)
2.             กระบวนการประมวลผล (Process)
3.             ผลลัพธ์ (Input)
4.             การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback  Control)
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
1.             ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์
2.             ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
3.             ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน
4.             ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา
5.             ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
6.             ช่วยลดค่าใช้จ่าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น